Emo Comments For Hi5

วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

แนะนำใช้และปรับแต่ง blogger ให้หลากหลาย

วันนี้คิดว่าเพื่อนๆหลายคนคงต้องการหาวิธีในการแต่ง blogger ให้ดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้นเลยพยายหาคำแนะนำจากหลายๆที่ ที่เค้ากรุณาให้คำแนะนำที่ดีในการแต่ง blogger ของเราให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้นคะ
แหล่งที่มาของเวปที่มีข้อดีแนะนำในการแต่ง blogger ของพวกเรากันคะ
- blogger ของคุณ Napatsakol ที่ให้คำแนะที่ดีมากเลยคะ
- อีกเวปที่ให้คำแนะนำที่ดีอีกที่นะคะ โดยคุณ Chengake

ยังไงต้องขอขอบพระคุณแหล่งความรู้ดีๆที่แนะนำไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะคะ

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2551

FTA ไทย-สหรัฐ กับการเข้าถึงยาและสาธารณสุขของไทย

วันนี้มีข้อมูลเรื่องเกี่ยวกับ "ยา" มาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน..คิดว่าเพื่อนๆคงจะได้ความรู้ทางด้านนี้ขึ้นมาบ้างนะคะ..

ในครั้งนี้ขอต่อประเด็นเรื่องต้นทุนที่ประเทศไทยต้องจ่ายในการทำ FTA กับสหรัฐ จากผลกระทบเรื่องการเข้าถึงยาและสาธารณสุข หลังจากในครั้งที่แล้วได้กล่าวถึงโจทย์ FTA ในการปฏิรูปการเมืองภาคสอง

ข้อเรียกร้องของสหรัฐที่จะมีผลกระทบต่อเรื่องยาและสาธารณสุข ส่วนใหญ่อยู่ในหัวข้อการคุ้มครองสิทธิบัตร และมีบางส่วนเป็นผลมาจากการเปิดเสรีการบริการสาธารณสุข แต่ครั้งนี้ขอกล่าวถึงผลกระทบจากเรื่องสิทธิบัตรเท่านั้น

สาระข้อเรียกร้องของสหรัฐในเรื่องนี้ที่สำคัญๆ เช่น ให้ไทยคุ้มครองสิทธิบัตรวิธีการวินิจฉัยโรค การรักษาโรค และการผ่าตัด ไม่ให้มีการคัดค้านคำขอรับสิทธิบัตรก่อนการออกสิทธิบัตร จำกัดการใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ (Compulsory Licensing) ให้เป็นไปอย่างลำบากหรือไม่สามารถใช้ได้ ขอให้ขยายอายุสิทธิบัตรเพื่อชดเชยความล่าช้าจากกระบวนการจดสิทธิบัตร 4 ปีนับจากวันยื่นคำขอ หรือ 2 ปีนับจากวันยื่นให้พิจารณาคำขอ ให้ขยายอายุสิทธิบัตรเพื่อชดเชยความล่าช้าจากการขึ้นทะเบียนตำรับยาทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีข้อเรียกร้องเพิ่มเติมในหัวข้อ "มาตรการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่ถูกควบคุม" คือ ให้มีการผูกขาดข้อมูลยาใหม่ 5 ปี ตามลำดับ ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะใช้ในการขึ้นทะเบียนตำรับในไทยหรือต่างประเทศ ต้องมีมาตรการป้องกันมิให้มีการขึ้นทะเบียนตำรับยาที่มีการละเมิดสิทธิบัตร ( ผู้สนใจรายละเอียดข้อเรียกร้องที่สหรัฐยื่นให้ฝ่ายไทยเมื่อครั้งการเจรจารอบที่ 6 จ.เชียงใหม่หาอ่านได้จาก www.bilarterals.org )

ข้อเรียกร้องเหล่านี้เป็นเรื่องทางเทคนิคอยู่ค่อนข้างมาก ไม่อาจอธิบายในเชิงวิชาการอย่างละเอียดได้ภายใต้เนื้อที่จำกัดนี้ จึงขอกล่าวโดยสรุปถึงผลกระทบว่าหากไทยต้องยอมรับตามข้อเรียกร้องของสหรัฐ จะเกิดผลกระทบอย่างไรบ้างต่อคนไทยและประเทศไทย

ข้อแรก ทำให้การผูกขาดตลาดยาภายใต้ระบบสิทธิบัตรยาวนาน

ข้อสอง ผลกระทบต่อปัญหาการเข้าถึงยาของผู้ป่วย เนื่องจากประเทศไทยต้องยกระดับการคุ้มครองสิทธิบัตรยาให้สูงขึ้นและนานขึ้น ในขณะที่ไม่สามารถใช้กลไกต่างๆ เช่น การนำเข้าซ้อน การบังคับใช้สิทธิ เพื่อการบรรเทา เยียวยาปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการให้สิทธิบัตรยาได้

ข้อสาม ผลกระทบต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยาไทย สร้างอุปสรรคในการแข่งขันจากการข้อเรียกร้องเรื่องการผูกขาดข้อมูลยา การขึ้นทะเบียนตำรับยา ฯ

ข้อสี่ เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพขั้นพื้นฐาน เนื่องจากมีต้นทุนค่ายา และค่ารักษาผู้ป่วยเพิ่มขึ้น

จากงานศึกษาของสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุขของไทย ประเมินว่าค่าใช้จ่ายด้านยาที่จะเกิดขึ้น หากมีการขยายระยะเวลาการคุ้มครองสิทธิบัตรหรือการผูกขาดทางการตลาดเป็นเวลาตั้งแต่ 1 ถึง 10 ปี จะทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเมื่อขยายระยะเวลาการผูกขาดทางการตลาดเพิ่ม 1 ปี เฉลี่ยระหว่าง 4.29 ถึง 43.95 ล้านบาทต่อยา 1 รายการ และจะเพิ่มขึ้นเป็น 557.78 ถึง 3,607.61 ล้านบาทเมื่อขยายระยะเวลาการผูกขาดฯออกไป 10 ปี หากคำนวณจากจำนวนรายการยาใหม่ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในระหว่างปี 2542 ถึงปี 2547 เฉลี่ยปีละ 60 รายการ จะพบว่าค่าใช้จ่ายด้านยาเฉลี่ยต่อปีจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 257.24 ถึง 2,636.78 ล้านบาทเมื่อขยายระยะเวลาการผูกขาดฯออกไป 1 ปี และเพิ่มเป็น 33,466.69 ถึง 216,456.53 ล้านบาทเมื่อขยายระยะเวลาการผูกขาดฯออกไป 10 ปี

มีข้อควรตระหนักด้วยว่า การศึกษานี้ยังไม่ได้ประเมินต้นทุนทั้งหมดตามข้อเรียกร้องของสหรัฐในเรื่องสิทธิบัตรยา

ถ้าประเทศไทยยังต้องการเดินหน้าต่อเพื่อเจรจาทำ FTA กับสหรัฐ ประเทศไทยก็มีต้นทุนมหาศาลที่ต้องจ่าย ต้องแลก ซึ่งรวมถึงชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนด้วย
ขอขอบพระคุณแหล่งที่มา:Thai APEC Study Center : ---------------------------------------

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2114 18 พ.ค. - 20 พ.ค. 2549

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2551

การจัดการความรู้คืออะไร

พยายศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่กำลังศึกษาอยู่ พยายามหาบทความที่มีประโยชน์ เพื่อนำมาพัฒนาความรู้ในสมองที่มีอยู่น้อยนิดทำให้รอยหยักในสมองของตัวเองได้เกิดขึ้นบ้าง อ่านแล้วได้ไปเจอก็เลยเอามาฝากกันคะ
การจัดการความรู้คืออะไร (นิยามเพื่อปฏิบัติการ)
การจัดการความรู้คือ กระบวนการที่เป็นเครื่องมือหรือวิธีการเพิ่มมูลค่าหรือคุณค่าของกิจการขององค์กร กลุ่ม
บุคคล หรือเครือข่ายของกลุ่มบุคคลหรือองค์กร
การจัดการความรู้ไม่ได้มีความหมายเพียงแค่การนำ “ความรู้” มา “จัดการ” แต่มีความหมายจำเพาะและลึกซึ้ง
กว่านั้นมาก

การจัดการความรู้ ประกอบด้วยกิจกรรมและกระบวนการต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
• การขุดค้นและรวบรวมความรู้ คัดเลือกเอาไว้เฉพาะความรู้ที่จำเป็นสำหรับการใช้ประโยชน์ ทั้งจากภายใน
องค์กรและจากภายนอกองค์กร นำมาตรวจสอบความน่าเชื่อถือ และความเหมาะสมกับบริบทของสังคม
และขององค์กร ถ้าไม่เหมาะสมก็ดำเนินการปรับปรุง
• การจัดหมวดหมู่ความรู้ ให้เหมาะสมต่อการใช้งาน
• การจัดเก็บ ความรู้ เพื่อให้ค้นหาได้ง่าย
• การสื่อสารเพื่อถ่ายทอดความรู้
• การจัดกิจกรรมและกระบวนการเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้
• การวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อยกระดับความรู้
• การสรา้งความรใู้ หม 
• การประยุกต์ใช้ความรู้
• การเรียนรู้จากการใช้ความรู้
การจัดการความรู้เริ่มที่ปณิธานความมุ่งมั่น (purpose) อันยิ่งใหญ่ร่วมกันของสมาชิกขององค์กร กลุ่มบุคคล หรือ
เครือข่าย ที่จะร่วมกันใช้ความเพียรดำเนินการจัดการความรู้ ด้วยวิธีการและยุทธศาสตร์อันหลากหลาย เพื่อใช้ความรู้
เป็นพลังหลักในการบรรลุเป้าหมายตามความมุ่งมั่น เพื่อประโยชน์ขององค์กร กลุ่มบุคคล เครือข่าย และยังประโยชน์อัน
ไพศาลให้แก่สังคมในวงกว้างด้วย
การจัดการความรู้มีความหมายกว้างกว่าการจัดการสารสนเทศ กว้างกว่าการจัดการข้อมูล และกว้างกว่าการ
จัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ในการจัดการความรู้ จะต้องมีการจัดการครบทั้ง 3 องค์ประกอบของความรู้คือ ความรู้ฝังลึกในคน ความรู้แฝง
ในองค์กร และความรู้เปิดเผย รวมทั้งจะต้องมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนากิจกรรมหลัก (core activities) ขององค์กร กลุ่ม
บุคคล หรือเครือข่าย !
การจัดการความรู้ จะต้องดำเนินการในลักษณะที่บูรณาการอยู่ในกิจกรรมหรืองานประจำ ไม่ถือเป็นกิจกรรม
ที่แยกจากงานประจำ ต้องดำเนินการโดยไม่ทำให้สมาชิกขององค์กรรู้สึกว่ามีภาระเพิ่มขึ้น
About_KM
การจัดการความรู้เน้นการดำเนินการเกี่ยวกับคนในองค์กร กลุ่มบุคคล หรือเครือข่าย ผลของการจัดการความรู้
วัดจากผลงาน วัฒนธรรมองค์กร สินทรัพย์ทางปัญญาขององค์กร และความสามารถในการสร้างนวัตกรรมหรือการปรับ
ตัวขององค์กร
การจัดการความรู้ มีทั้งการจัดการความรู้ที่ดี และการจัดการความรู้ที่เลว การจัดการความรู้ที่ดีมีลักษณะลงทุน
น้อย แต่ได้ผลกระทบมาก การจัดการความรู้ที่เลว เป็นการจัดการความรู้ที่ได้ผลไม่คุ้มค่าการลงทุน
พื้นฐานสำคัญต่อความสามารถในการจัดการความรู้ คือ ความเป็นองค์กรเรียนรู้ (Learning organization) หรือ
องค์กรเคออร์ดิก (chaordic organization) และการที่สมาชิกขององค์กรเป็นบุคคลเรียนรู้ (learning person)!
!
ในเรื่องการจัดการความรู้ ไม่มีสิ่งใดหรือหลักการใดสำคัญยิ่งกว่าจินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กลุ่ม
ผู้ดำเนินการจัดการความรู้จะต้องมั่นใจที่จะใช้จินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อการจัดการความรู้อย่างเต็มที่
มีความเป็นอิสระที่จะคิด มีความมั่นใจที่จะคิด และนำความคิดมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งการคิดร่วมกันผ่านการกระทำ เพื่อเป้าหมายบรรลุความมุ่งมั่นที่กำหนดร่วมกัน
ในภาพกว้าง การจัดการความรู้จะต้องเชื่อมโยงกับกิจกรรมเกี่ยวกับความรู้ที่หลากหลาย เช่น การสร้างความรู้
(วิจัย) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นวัตกรรม การศึกษา การพัฒนาคน วัฒนธรรมการเรียนรู้
แหล่งข้อมูล:สถาบันส่งเสริมความรู้เพื่อสังคม(สคส.)

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2551

การจัดการความรู้ 3 ยุค

ได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากที่ได้อ่านจาก สคส. อีกแล้วนะคะ เลยเอามาให้อ่านกัน
การจัดการความรู้ 3 ยุค
1. ยุคเน้นเทคโนโลยีสารสนเทศ เน้นการจัดการสารสนเทศ
2. ยุคเซ็กกี้ (SECI = Socialization, Externalization, Combination, Internalization) เน้นวงจรยก
ระดับความรู้แบบฝังลึก (tacit knowledge) และ ความรู้เปิดเผย (explicit knowledge) เสนอโดย
Nonaka
3. ยุคปัจจุบัน เน้น Complex Knowlegde และ Organic Knowledge Management มีการนำ
ศาสตร์แห่งความซับซ้อน ทฤษฎีไร้ระเบียบ (Chaos Theory) ระบบที่ซับซ้อนและปรับตัว
(Complex-Adaptive System) มาประยุกต์ใช้
ที่มา:http://www.kmi.or.th/